เปิด 5 อาชีพวิทย์อินเทรนด์!! กับโอกาสงานสไตล์วิทย์แบบใหม่ๆ ที่เด็กรุ่นใหม่อยากเรียน
“เรียนวิทย์จบไปคงทำงานแต่ในแล็บ” เสียงสะท้อนจากนักเรียนสายวิทย์หลายๆ คนที่อาจจะอยู่ในสภาวะที่หนักใจและเป็นกังวลว่า การศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในสายวิทยาศาสตร์ จบไปแล้วจะมีงานรองรับหรือไม่ แต่หากสังเกตการปรับตัวของเทคโนโลยีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งการกำเนิดของเทคโนโลยี AI (Artificial intelligence) เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) เทคโนโลยี VR (Virtual Reality) และอื่นๆ จะทราบได้ว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนมีต้นกำเนิดมาจาก “Pure Science” หรือ “วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์” ด้วยกันทั้งสิ้น ที่สามารถนำไปต่อยอดหรือผสมผสานกับศาสตร์เรียนรู้อื่น จนเกิดเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีอันชาญฉลาดในปัจจุบัน
รศ.ดร.สมชาย ชคตระการ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการปรับตัวตามกระแสโลกตลอดเวลา คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. ในฐานะหน่วยงานที่บ่มเพาะและผลิตนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ จึงไม่หยุดยั้งในการพัฒนาและพร้อมวางกรอบนโยบายในการพัฒนาเยาวชนไทย สู่บุคลากรคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีความกล้าคิดนอกกรอบ และกล้าผลิตนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจหรืออาชีพที่ทำเงินได้ในอนาคต ซึ่งในยุคที่ทุกสิ่งขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล จึงทำเกิดเทรนด์อาชีพสไตล์วิทย์ๆ หลากรูปแบบที่พร้อมตอบโจทย์ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และสังคมในหลากมิติ อีกทั้งพร้อมรองรับเด็กวิทย์รุ่นใหม่เปิดประสบการณ์ร่วม ดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ รศ.ดร.สมชาย กล่าวว่า จากเทรนด์อาชีพดังกล่าว ล้วนแต่มีรากฐานการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น ทั้งในเชิงคณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ เคมี เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ ฯลฯ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. จึงมีนโยบายในการพัฒนาและปรับโครงสร้างหลักสูตรการเรียนรู้โฉมใหม่ ที่บูรณาการองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ ร่วมกับการบริหารธุรกิจ สู่ “SCI+BUSINESS” หรือ “วิทย์คิดประกอบการ” เพื่อให้นักศึกษาสามารถก้าวสู่เส้นทางอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพนั้นๆ รวมไปถึงการเป็นผู้สร้างอาชีพหรือธุรกิจใหม่ได้ในอนาคต ผ่านสาขาวิชาและหลักสูตรที่พร้อมตอบโจทย์อุตสาหกรรม New S-Curve อาทิ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล หลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหาร และหลักสูตรเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพ เป็นต้น ด้าน น.ส.ปานชนก บุญสม นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า การเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูลนั้นถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการช่วยองค์กรวิเคราะห์ ตัดสินใจ และคาดการณ์แนวทางการแก้ปัญหา เพื่อลดความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจ ผ่านการศึกษาข้อมูลเชิงลึกที่มีจำนวนมาก ประมวลผลข้อมูล และออกแบบข้อมูลด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างแบบจำลองข้อมูลที่ง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า ระบบไอทีและอินเตอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ทำให้มีข้อมูลอยู่ในระบบออนไลน์จำนวนมาก และยากต่อการหยิบยกข้อมูลมาใช้ประโยชน์ ดังนั้น ในอนาคตจึงอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือ Data Science เพื่อเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการช่วยองค์กรตัดสินใจ และสามารถรองรับภาคสังคมและธุรกิจของประเทศที่ Big Data จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก♣ |