EditorialGeneralnews

บทความพิเศษ เรื่อง เตือนลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างงดการทำนาปีต่อเนื่อง

ความต้องการน้ำของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สะท้อนปัญหาภัยแล้งที่กำลังจะเกิดขึ้นจากปรากฎการณ์เอลนีโญ่

ทั้งนี้กรมชลประทานได้วางมาตรการรองรับดังนี้ มาตรการที่ 1 วางแผนการบริหารจัดการน้ำเป็นเวลา2ปี โดยคาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในปี2566-2567 มาตรการที่2คือ กักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนให้เหลือมากที่สุด คือระหว่าง 10กรกฎาคมถึ15ตุลาคม2566 ทั้งในอ่างเก็บน้ำแก้มลิง ขุดลอกคูคลอง และเตือนให้ประชาชนกักเก็บน้ำในบ่อหรือสระให้มากที่สุด มาตรการที่3 กรมชลประทานจะชะลอและเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่นการทำฝาย และไม่ปล่อยทิ้งลงทะเล รวมทั้งขอความร่วมมือเกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปรัง  ประหยัดน้ำโดยใช้น้ำในปริมาณที่เหมาะสมกับกิจกรรม นำน้ำมาใช้ซ้ำ และนำน้ำมาผ่านกระบวนการบำบัดแล้วกลับมาใช้อีก

สำหรับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักตอนใต้และลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างนั้น เขื่อนพระรามหกเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดสรรน้ำ โดยจะรับน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์และเขื่อนชัยนาทผ่านคลองชัยนาทป่าสัก ซึ่งปีนี้มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยมาก และมีปัญหาการขาดแคลนน้ำ

            โดยนายประจักษ์ อั้นจุกฉุน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ เปิดเผยว่าการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำป่าสักใต้นั้นจะต้องดูปริมาณน้ำในต้นเดือนพฤศจิกายน 2566นี้ ว่ามีปริมาณน้ำต้นทุนที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เท่าใด จึงจะกำหนดปริมาณน้ำที่จะส่งไปรักษาระบบนิเวศ การอุปโภคบริโภค และการเกษตรได้

ส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างนั้น นายสุประวัติ ชยาทิกุล หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำสำนักงานชลประทานที่10ลพบุรี อธิบายว่าพื้นที่นี้ไม่มีต้นทุนน้ำเป็นของตนเอง โดยจะอาศัยน้ำจาก4เขื่อนหลัก คือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ไหลลงมายังลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง โดยและใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำคือ คลองชัยนาทป่าสักรับน้ำที่จังหวัดชัยนาท ผ่านประตูระบายน้ำมโนรมย์ มายังเหนือเขื่อนพระรามหก  อีกเส้นคือคลองชัยนาทอยุธยาผ่านประตูระบายน้ำมหาราช ส่งน้ำไปยังพื้นที่เกษตรอีกด้าน และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล เป็นโครงการสูบน้ำส่งไปยังพื้นที่เกษตร

โดยปรากฎการณ์เอลนีโญ่ที่เกิดขึ้น ทำให้ปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ย จึงขอความร่วมมือไปยังเกษตรกรให้หยุดการทำนาปีต่อเนื่อง

ในโอกาสที่ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ภาคกลาง พร้อมด้วย พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี รองประธานอนุกรรมการฯ นางพิชญดา หัศภาค รองเลขาธิการ กปร. และคณะอนุกรรมการฯ เดินทางตรวจเยี่ยมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และลพบุรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 ได้รับทราบสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักตอนล่างและลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง

โดยพลอากาศเอกชลิต ได้แนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการทำนาในช่วงฤดูแล้งนี้ เช่น ว่านหางจระเข้ กระจับ แต่ขอให้ปลูกพืชคนละชนิดกันเพื่อไม่ให้ผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ

 

สำหรับเขื่อนพระรามหก ปัจจุบันมีอายุการใช้งาน 99 ปี ตัวเขื่อนมีช่องระบายน้ำทำด้วยบานเหล็กจำนวน 6 ช่อง กว้างช่องละ 12.50 เมตร มีประตูระบายพระนารายณ์ทำหน้าที่ระบายน้ำจากแม่น้ำป่าสักที่ทดไว้เข้าสู่คลองระพีพัฒน์ ซึ่งเป็นคลองส่งน้ำสายใหญ่ที่ส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จนถึงทุ่งรังสิต จังหวัดปทุมธานี รวมพื้นที่ 680,000 ไร่ ตลอดจนใช้ในการอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม ผลักดันน้ำเค็ม และรักษาระบบนิเวศน์ด้านท้ายน้ำ

 

บทความโดย สุวินา เอี่ยมสุทธา