Central RegionnewsRoyal Newsroyal project

องคมนตรีติดตามขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี

<span;>วันพุธที่ 28 มิถุนายน 2566 พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ภาคกลาง พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี รองประธานอนุกรรมการฯ พร้อมด้วยนายปวัตร์ นวะมะรัตน เลขาธิการ กปร. และคณะอนุกรรมการฯ เดินทางไปประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ภาคกลาง​ ครั้งที่​ 2/2566 ณ ห้องประชุมพริบพรี ศาลากลางจังหวัดเพชรบุรี  และติดตามความก้าวหน้าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี

<span;>โอกาสนี้องคมนตรีและคณะได้รับฟังรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งได้นำข้อเสนอแนะตามที่องคมนตรีได้ให้ไว้มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของแหล่งน้ำในพื้นที่โดยสร้างความร่วมมือกับประชาชนในการช่วยกันดูแลรักษาแหล่งน้ำ การสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยกันดูแลรักษาสัตว์ป่าให้อยู่คู่กับป่าและอยู่ร่วมกับคนได้

<span;>นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้สรุปผลการดำเนินงานโครงการในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นโครงการในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และอยู่ระหว่างดำเนินการ คือ โครงการบรรเทาอุทกภัยเพชรบุรีตอนล่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี ลักษณะโครงการเป็นการปรับปรุงคลองระบายน้ำ คลองส่งน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพของอ่างเก็บน้ำ เนื่องจากจังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่ในแนวร่องน้ำผ่านของลุ่มน้ำเพชรบุรีเมื่อเกิดฝนตกหนักเกิน 230 มิลลิเมตร ติดต่อกันเป็นเวลานาน 48 ชั่วโมงขึ้นไป จะทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากจากต้นน้ำไหลล้นตลิ่งเข้าสู่พื้นที่ เกิดเป็นอุทกภัยที่สร้างความเสียหายอย่างรุนแรง โดยสาเหตุหลักเกิดจากแม่น้ำเพชรบุรีและระบบคูคลองต่าง ๆ ไม่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากพื้นที่บางส่วนถูกบุกรุก

สำนักงาน กปร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันดำเนินงานสนองพระราชดำริ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยสำนักงาน กปร.ได้สนับสนุนงบประมาณแก่กรมชลประทานเพื่อดำเนินงานโครงการฯ ในระยะแรก ต่อมา กรมชลประทาน ได้ดำเนินการพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน และอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์ รวมทั้ง ดำเนินการเพิ่มศักยภาพคลองระบายน้ำ D9 และการเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำของคลองระบายน้ำ D1 ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำของคลองระบายน้ำ D1 สำหรับพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  105 โครงการ ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 104 โครงการ และอยู่ระหว่างดำเนินการ 1 โครงการ

<span;> โอกาสนี้ องคมนตรีแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบว่าขณะนี้งบประมาณในการทำฝนหลวงจำกัดและใกล้หมดลง จึงมีความเป็นห่วงว่าในภาวะเอลนินโญ่ที่มีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติจะทำให้ไม่สามารถขึ้นบินเพื่อทำฝนเทียมได้ จึงขอให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมและเตือนให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด

<span;>นอกจากนี้องคมนตรียังได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่โครงการต่างๆให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้นำคำแนะนำจากคณะอนุกรรมการไปพิจารณาและดำเนินการให้โครงการบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายเพื่อสร้างประโยชน์สุขแก่ประชาชน

<span;>ช่วงบ่าย คณะเดินทางไปยังโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี (เขื่อนเพชร) ตำบลท่าคอย อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี บริเวณจุดก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา 1 (RMC1) เพื่อติดตาม<span;>ความก้าวหน้าของการก่อสร้าง ประตูระบายน้ำปากคลองสายใหญ่ 1 ซึ่งเป็นประตูที่ใช้บังคับน้ำผ่านเข้าคลองสายใหญ่ 1 ตามโครงการบรรเทาอุทกภัยเพชรบุรีตอนล่างมีขนาดบานระบาย 8 * 7 เมตรจำนวน 3 ช่องขนาด 4 * 7 เมตรจำนวน 1 ช่อง สามารถผันน้ำเหนือเขื่อนเพชรปริมาณ 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีไปรวมกับคลองอีกสายหนึ่งที่จะมีการขุดขึ้นใหม่เหนือเขื่อนเพชรขึ้นไปประมาณ 2 กิโลเมตร โดยการปรับปรุงคลองลำห้วยยางขยายให้ใหญ่ขึ้นผันน้ำไปในอัตรา 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีซึ่งทั้ง 2 สายนี้มีปริมาณน้ำรวม 350 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีมารวมกันบริเวณบ้านหนองขานางเป็นคลองสาย D1 ที่จะนำน้ำ 350 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีผันไปทิ้งลงทะเลบริเวณตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีเป็นการบายพาสน้ำส่วนเกินในช่วงฤดูน้ำหลากไม่ให้ไหลเข้าเมืองเพชรบุรีเกินศักยภาพของแม่น้ำเพชรช่วงตัวเมืองที่สามารถรับได้เพียง 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเท่านั้น

<span;> ประตูระบายน้ำแห่งนี้รวมทั้งคลองระบายทั้งสายยาว3.35กิโลเมตร ใช้เงินงบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 937 ล้านบาทได้รับงบประมาณในปี 2564 จำนวน200 ล้านบาทได้รับงบประมาณในปี 2566 จำนวน210 ล้านบาท และจะได้รับงบประมาณในปี 2567จำนวน200 ล้านบาทและปีสุดท้าย2568 จะได้รับงบประมาณ 326 ล้านบาท

<span;>การก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองระบายสายใหญ่ 1 รวมทั้งคลองส่งน้ำอีกส่วนหนึ่งที่ได้รับงบประมาณการก่อสร้างในปี 2566 จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกันยายนปี 2566 ผลงานการก่อสร้างขณะนี้50%

<span;>ต่อมา เดินทางไปยังโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยฯ

<span;>โอกาสนี้ องคมนตรี และคณะพบปะพูดคุยกับผู้แทนเกษตรกรกลุ่มบริหารการใช้น้ำ <span;>โดยตัวแทนชาวบ้านตำบลเขากระปุกได้เสนอแนวคิดในการเพิ่มปริมาณน้ำในพื้นที่เพื่อให้มีน้ำใช้ทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี คือ ข้อแรกขอให้ผันน้ำจากแม่น้ำเพชรบุรีขึ้นมาใช้แทนที่จะปล่อยทิ้งลงทะเล ข้อสองคือขอให้สร้างฝายชะลอน้ำก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำเพชรบุรี โดยพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุของคมนตรีได้รับฟังข้อเรียกร้องของประชาชนและขอให้กรมชลประทานรับไปพิจารณาต่อไป

<span;>โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัย และการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในส่วนของพื้นที่นอกเขตชลประทาน ซึ่งอยู่ใกล้เคียงไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2549

การใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ได้แบ่งเป็นภาคเกษตรร้อยละ 70 ที่เหลือร้อยละ 30 เพื่อเก็บไว้ใช้อุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ของอ่างเก็บน้ำรวมถึงเก็บไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำคงเหลือในอ่าง 1,558,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 38.45 ช่วยให้ชุมชนทั้งที่อยู่ในเขตพื้นที่รับน้ำชลประทานของอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยฯ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน มีแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และทำการเกษตรเพิ่มขึ้น 1,790 ครัวเรือน 6,710 คน สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่ทำการเกษตร 4,500 ไร่ในฤดูฝน และ 2,000 ไร่ ในฤดูแล้ง ช่วยบรรเทาอุทกภัย โดยมีการจัดตั้งกลุ่มบริหารการใช้น้ำขึ้นมาบริหารจัดการใช้น้ำจากอ่างแห่งนี้


<span;>จากนั้น คณะเดินทางไปยังแปลงเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2 ราย ได้แก่ แปลงเกษตรของ นายสมนึก เทศอ้น อาสาสมัครชลประทาน และประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยฯ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่ทำการเกษตร 6 ไร่ พืชที่ปลูก ได้แก่ กะหล่ำปลี กล้วยหอมทอง มะเขือเปราะ และแตงกวา รวมรายได้จากการทำการเกษตร 130,000 บาท/ปี

และแปลงเกษตรของ นางองุ่น แก้วเมืองเพชร ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่ทำการเกษตร 15 ไร่ พืชที่ปลูก ได้แก่ มะนาว มะพร้าว ขนุน ลำไย กล้วย และปาล์มน้ำมัน โดยส่งกล้วยหอมจำหน่ายให้แก่บริษัทโดล เพื่อจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ มีรายได้ประมาณ 150,000 บาท/รอบการปลูก รวมรายได้จากการทำการเกษตรทั้งสิ้น 200,000 บาท/ปี

<span;>ขอบคุณกองประชาสัมพันธ์
<span;>สำนักงาน กปร.